ประวัติความเป็นมา


         คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการพัฒนาควบคู่กับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในระยะแรกเริ่มยังมิได้แยกเป็นคณะวิชาคณาจารย์สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รับผิดชอบการสอนรายวิชาต่างๆที่เป็นส่วนสำคัญของหลักสูตรการศึกษาในปี พ.ศ.2518 มีพระราชบัญญัติ ให้วิทยาลัยครูทุกแห่งเป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาจึงได้มีการก่อตั้ง“คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” โดยได้เปิดสอนในระดับอนุปริญญาระดับปริญญาตรี 4 ปีและปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา)สาขาการศึกษา  มีวิชาเอก 3 วิชาคือภาษาไทยภาษาอังกฤษสังคมศึกษาหลังจากนั้นในปี พ.ศ.2527 มีการพัฒนาหลักสูตร  และเปิดสอนหลักสูตรศิลปะศาสตร์เมื่อ พ.ศ.2535“คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” เปลี่ยนเป็น  “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”  ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏและตำแหน่ง“หัวหน้าคณะ” เปลี่ยนเป็น“คณบดี” โดยมีภาควิชาในกำกับดูแล 11 ภาควิชาต่อมาในปี พ.ศ.2542 มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาควิชาเป็นโปรแกรมวิชาตามหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตจำนวน 11 โปรแกรมวิชาและในปี พ.ศ.2543โปรแกรมวิชาศิลปกรรมโปรแกรมวิชานาฏศิลป์โปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการละครและโปรแกรมดนตรีแยกไปตั้งเป็น  คณะศิลปกรรมศาสตร์คณะฯจึงมีโปรแกรมที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี4 ปีสาขาการศึกษาและสาขาศิลปศาสตร์รวม 7 โปรแกรมวิชา

         เนื่องจากปัจจุบันมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับภาษาต่างประเทศมากขึ้น  ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางคณะได้เปิดสอนวิชาภาษาญี่ปุ่นภาษาฝรั่งเศส  และภาษาจีนเป็นวิชาเลือกของโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยววิชาเลือกเสรีของโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจและโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษซึ่งมีนักศึกษาสนใจเรียนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีในปีการศึกษา 2545คณะฯจึงได้จัดทำศักยภาพของโปรแกรมวิชาภาษาญี่ปุ่นและโปรแกรมวิชาภาษาจีนซึ่งประกอบด้วย  หลักสูตรแผนการเรียนอาจารย์ผู้สอนสื่อการสอนแหล่งวิทยาการแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยเปิดสอน “โปรแกรมวิชาภาษาญี่ปุ่น” และ“โปรแกรมวิชาภาษาจีน”ในระดับปริญญาตรี 4 ปีในปีการศึกษา 2546  นอกจากนี้คณะฯได้รับความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน(Yunnan Normal University) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในการจัดตั้งศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน (Chinese Language and Culture Center) โดยทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่10 มิถุนายน 2545 และได้เปิดอบรมหลักสูตรภาษาจีนให้กับคณาจารย์และประชาชนผู้สนใจรวมทั้งให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการจัดการเรียน  การสอน“โปรแกรมวิชาภาษาจีน” ระดับปริญญาตรี  4  ปีต่อมา  ในปีการศึกษา 2546  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน  (Joint Venture 2+2 Bachelor’s Degree Program)ทั้งนี้นักศึกษาจะเรียนที่มหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน  2 ปีและอีก 2 ปีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยนักศึกษาชาวจีนดังกล่าวจะเริ่มเรียนที่สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2548  เป็นต้นไป อนึ่งในปีการศึกษา 2547 คณะได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรและเปิดสอนระดับปริญญาตรี 4 ปีได้แก่สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรมในปีการศึกษา 2548 ได้เปิดการเรียนการสอนอีก 2 สาขาวิชาคือสาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พักสาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ  และในปีการศึกษา 2550 ได้จัดทำหลักสูตรใหม่อีก 2 สาขาวิชาคือสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม  และสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศโดยสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคมได้เปิดรับนักศึกษาในภาคเรียนที่ 1 / 2550 และสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศเริ่มเปิดรับนักศึกษาในภาคเรียนที่ 1 / 2551  และปีการศึกษา 2554 คณะได้เปิดสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

         ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปให้กับนักศึกษาของคณะต่างๆรวมทั้งสอนในรายวิชาเอก / วิชาเฉพาะให้กับนักศึกษาของคณะรวมทั้งสิ้น 13  สาขาวิชา

ระดับปริญญาตรี
         1. สาขาวิชาภาษาไทย
         2. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
         3. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
         4. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
         5. สาขาวิชาภาษาจีน
         6. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
         7. สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
         8. สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก
         9.สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
         10.สาขาวิชาการจัดการสังคมและวัฒนธรรม
         11.กลุ่มวิชาสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
         12.สาขาวิชานิติศาสตร์
         13.สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ

          แต่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากในปัจจุบันสภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางแข่งขัน กันมากขึ้นดังนั้นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จึงต้องพัฒนาด้านการเรียนการ สอนเพื่อก้าวให้ทันโลกและให้มีศักยภาพด้านบริการการศึกษาในระดับมาตรฐานให้ เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาประเทศ....